
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือภาษีที่ดินฯ คือ การเก็บภาษีจากการทำประโยชน์บนที่ดิน เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด อาคารโรงเรือน ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินว่างเปล่า หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะใช้หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็จะต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน การเก็บภาษีที่ดินฯ ก็เพื่อนำเงินไปใช้บำรุงพัฒนาท้องถิ่นให้มีความทันสมัย และมีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาพื้นที่ในระยะยาว โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัดเก็บภาษี
อัตราการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565-2566
สำหรับอัตราการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565-2566 นั้น จะไม่มีการพิจารณาปรับลดภาษีฯ เหมือนปี 2563–2564 ที่ได้ปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% จึงเท่ากับว่าอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565-2566 คงอัตราภาษีในอัตราเดิมเท่ากับปี 2563-2564 เพียงแต่จะไม่มีการปรับลดอัตราภาษีเหลือ 10% ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เสียภาษีจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าปี 2563-2564
ประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี
อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยมีแบ่งประเภทออกเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้
1. ที่ดินเพื่อการประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.01-0.1%
2. ที่อยู่อาศัย แบ่งเป็น
2.1 บ้านหลังหลัก เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.03-0.1%
2.2 บ้านหลังหลัก เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.02-0.1%
2.3 บ้านหลังอื่น ๆ อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.02-0.1%
3. การใช้ประโยชน์อื่น หรือใช้เชิงพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.3-0.7%
4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 0.3-0.7%
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินมีใครบ้าง
- ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือห้องอาคารชุด จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ส่วนกรณีที่เป็นเจ้าบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ เจ้าบ้านก็ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี
- ผู้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ก่อนวันที่ 1 มกราคมของปีภาษี เช่น
- ถ้าซื้อบ้านวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ต้องเสียภาษีที่ดินฯ ในปี 2565 เพราะถือว่าครอบครองก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565
- ถ้าซื้อบ้านวันที่ 2 มกราคม 2565 ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินฯ ในปี 2565 เพราะถือว่าครอบครองหลังวันที่ 1 มกราคม 2565 ให้ไปเริ่มเสียภาษี ในปี 2566
- ที่ดินเพื่อการเกษตรหรือใช้ประโยชน์จากการทำเกษตรกรรม โดยต้องเข้าเงื่อนไขตามประกาศหลักเกณฑ์ตามที่กระทรวงเกษตรฯ กำหนดด้วย เช่น
- ปลูกต้นไม้ต้องไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อไร่ ถ้าปลูกน้อยกว่าเกณฑ์กำหนด จะไม่ถือว่าเป็นที่ดินเพื่อการเกษตร
- ที่พักอาศัย แบ่งออกเป็น
- ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยที่เจ้าของอยู่อาศัยเอง หรือให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย
- บ้านเช่า หอพัก คอนโด ที่ปล่อยเช่ารายเดือน
- ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างบุคคลธรรมดาที่ได้รับมรดก และได้มาก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2562 จะได้ลดภาษีที่ดินลง 50% จากจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เช่น
- หากได้รับมรดก 80 ล้านบาท ก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2562 จะได้รับยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก
- ดังนั้นส่วนเกินอีก 30 ล้านบาท (ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท) จะเสียภาษี 0.03% คิดเป็น 9,000 บาท ได้รับการลดภาษีลง 50% เท่ากับว่าต้องจ่ายภาษี 4,500 บาท
สรุปว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565-2566 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ต้องไปชำระภาษีที่ดินฯ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีการขยายเวลาเพิ่มเติม จากเดิมภายในเดือนเมษายน เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2565 โดยจะมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยประเมินภาษีให้ ซึ่งการคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้าด้วยตัวเองจะช่วยให้สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายได้ดีที่สุด
สามารถติตตามข้อมูล และสาระดี ๆ เกี่ยวกับบ้านและอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมได้ที่ DDproperty เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย ได้รวบรวมข้อมูลประกาศซื้อ ขาย เช่า ที่น่าสนใจทั้งโครงการใหม่และบ้านมือสอง ในหลากหลายทำเลครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมเป็นแหล่งรวมความรู้ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการซื้อ ขาย เช่า เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตัดสินใจซื้อ ให้ผู้ที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง สามารถเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด
More Stories
Understanding the Benefits of Epoxy Flooring in Florida
Paint by Numbers: An Artistic Journey
Demystifying RTP Slot IDNScore: A Player’s Perspective